โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน หมายถึง ภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ (หรืออาจเคลื่อนมาทางด้านหลัง แต่พบได้น้อยมาก) โดยมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นน้อยกว่าเพศชาย ความมั่นคงของข้อต่อน้อยกว่าจึงเสียงต่อการเป็นโรคนี้ง่ายกว่า
โดยมากมักพบการเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 (L4-L5) เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะรับนํ้าหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย มีแรงเครียดสูงกว่า และเป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าข้อบนๆ เมื่อข้อต่อระดับนี้รับภาระมากขนาดนี้จึงไม่แปลกที่จะเกิดปัญหากับข้อที่ L4-L5 เสมอ
อาการที่หลัง: ปวดหลังเรื้อรัง มักเกิดอาการในขณะที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน
อาการที่ขา: ปวด ชา หนักที่บริเวณสะโพกหรือต้นขา 2 ข้าง อาการจะเป็นมากขณะเดิน และอาการจะบรรเทาเมื่อมีการก้มโค้งหลังหรือได้นั่งพัก ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าระยะทางที่เดินได้จะสั้นลงเรื่อยๆ หากโพรงประสาทตีบแคบมากอาจทำให้การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะเสียไปได้
ซึ่งระดับที่ 1-2 นั้น สามารถรับการรับการรักษาทางกายภาพบำบัดให้หายปวดได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษานั้นจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไปมากกว่าที่เป็นอยู่นะครับ ไม่ได้รักษาให้กระดูกกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้ารุนแรงถึงระดับ 3-4 โอกาสที่จะหายได้โดยการรักษาทั่วไปมักไม่ได้ผล การรักษาโดยการผ่าตัดจึงมักทําในระยะนี้
การรักษาสำหรับโรคนี้ถ้าไม่เข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์นั้น สามารถเข้ารับการรักษากับ การจัดกระดูกสันหลัง SAP ร่วมด้วยกับทางทีมนักกายภาพบำบัด ซึ่งการรักษาทางกายภาพนั้นจะเน้นการลดปวดและการออกกำลังกล้ามเนื้อหลังเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะหยุงกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนมากกว่าที่เป็นอยู่ และในการรักษาของเรายังสามารถ ทำให้กระดูกสันหลัง เคลื่อนกลับมาในตำแหน่งที่ดีขึ้นได้ด้วย ในผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทีมนักกายภาพจะให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายมากเป็นพิเศษเลยนะครับ โดยเฉพาะการฝึก core stabilize เป็นการฝึกกำลังกล้ามเนื้อชั้นลึกที่ติดอยู่กับกระดูกสันหลังให้แข็งแรงมากพอที่จะพยุงกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนครับ นอกจากนี้จะใช้อุปกรณ์เสริมร่วมด้วยเช่นอุปกรณ์พยุงหลัง หรือติด kinesio tape ที่หลังเพื่อพยุงกล้ามเนื้อหลังช่วยลดปวดได้