ปวดหัว Headache


คงไม่มีใครที่ไม่เคยบ่นว่า “ปวดหัว” นั่นเพราะจากความเครียด ไมเกรน ฯลฯ ซึ่งก็ไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่ว่าอาการปวดศีรษะบางประเภทที่บ่งบอกถึงความผิดปกติอันตรายจนอาจถึงแก่ชีวิตได้

จากข้อมูลเชิงวิชาการจากศูนย์สมองและระบบประสาท ระบุว่า ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การจำแนกโรคปวดศีรษะทั่วไปจากโรค ปวดศรีษะที่มีสาเหตุอื่นซ่อนอยู่ โดยเฉพาะ สาเหตุจากภายในสมอง เช่น ก้อนเนื้องอก เลือดออก หรือเส้นเลือดผิดปกติ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากทางการแพทย์ และวัตถุประสงค์แรกของแพทย์ในการ เริ่มค้นหา และทำการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเป็นอาการสำคัญ

รายละเอียดลักษณะอาการปวดศีรษะจากผู้ป่วย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรครวมถึงการสืบค้นสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นต้นเหตุของการปวดศีรษะที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

9 สัญญาณอันตราย ปวดศีรษะ

ซึ่งมี 9 อาการปวดศีรษะอันตรายที่ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • โรคและอาการเจ็บป่วยทางกายอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับอาการปวด ศีรษะ เช่น มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน ปวดกล้ามเนื้อ น้ำหนักลด มีประวัติโรคมะเร็ง การติดเชื้อ หรือภาวะภูมิคุ้มกัน บกพร่อง เช่น เอชไอวี ผู้ที่รับประทานยาบางประเภท เช่น ยาสเตอรอยด์ ยาละลายลิ่มเลือด ยากดภูมิคุ้มกัน ประวัติเหล่านี้ บ่งบอกถึงโรคติดเชื้อ การอักเสบ และการแพร่กระจายของมะเร็ง
  • อาการแสดงผิดปกติทางระบบประสาท ได้แก่พฤติกรรม หรือ บุคลิกภาพเปลี่ยนจากเดิม แขนขาอ่อนแรง ขา หรือการรับรู้ประสาทสัมผัสผิดปกติ การมองเห็น หรือการได้ยินผิดปกติ
  • อาการปวดศีรษะที่เริ่มต้นหลังตื่นนอน มักบ่งบอกถึงภาวะความดันในกระโหลกศีรษะสูง
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ซึ่งมักใช้เวลาเป็นเสี้ยววินาที บ่งบอกถึงภาวะวิกฤตของหลอดเลือดสมองตีบและแตก
  • อาการปวดศีรษะครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี แม้ว่าโรคปวดศีรษะปฐมภูมิหลาย ๆ ชนิดอาจเริ่มต้นครั้งแรกหลังอายุ 40 – 50 ปี โดยโรคปวดศีรษะปฐมภูมิไม่ใช่อาการปวดศีรษะที่มีผลจากการรับยา แต่ เป็นการปวดศรีษะจากความเครียด ไมเกรน อาการปวดหัวแบบผสม และปวดหัวแบบชุด ๆ แต่อายุที่มากขึ้นมักสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะได้ ที่พบบ่อย เช่น ก้อนเนื้อ งอก การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง การอักเสบของหลอดเลือด ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี จึง ควรได้รับการอกซเรย์สมองทุกราย ถึงแม้ว่าจะไม่พบความผิดปกติจาการตรวจร่างกายทางระบบประสาท
  • ลักษณะการปวดศีรษะต่างจากอาการปวดศีรษะที่เป็นประจำ โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ไม่มีช่วงเวลาหายปวด หรือมีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น
  • อาการปวดศีรษะที่แย่ลงเมื่อไอจามหรือเบ่ง มักสัมพันธ์กับความดันในกะโหลกศีรษะสูงขึ้นเช่นกัน
  • อาการปวดศีรษะที่แย่ลงเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง เช่น ปวดมากขึ้นเมื่อยืน นอน หรือเมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะและคอ อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบน้ำในโดพรงสมองและไขสันหลัง หรือกระดูกต้นคอ
  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นข้างเดียวตลอดเวลา หรือมักปวดในบริเวณด้านหลังของศีรษะ แสดงถึงพยาธิสภาพที่อาจเกิดอยู่บริเวณนั้นของศีรษะ หากเป็นอาการปวดศีรษะทั่วไปมักมีการสลับข้างซ้ายขวาบ้าง แต่มักพบว่าจะปวดข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง
เมื่อมีอาการปวดศีรษะครั้งแรก แม้จะมีหรือไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรไปพบแพทย์เพื่อประเมินว่าเป็นโรคปวดศีรษะชนิดใด

ส่วนผู้ที่มีอาการปวดศีรษะอยู่แล้ว หรือปวดศีรษะครั้งแรกล้วมีสัญญาณอันตรายดังกล่าวข้างต้น ให้รีบมาปรึกษาแพทย์ระบบ ประสาทโดยเร็ว เพื่อสืบค้นสาเหตุที่อาจเป็นอันตรายได้ และเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและตรงกับโรคที่เป็นสาตุ

การตรวจวินิจฉัยที่สำคัญ ได้แก่การเอ็กซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการ และอื่น ๆ ตามแต่โรคที่แพทย์วินิจฉัย ถึงแม้ส่วนใหญ่ของโรคปวดศีรษะจะไม่เป็นอันตราย แต่การรักษาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การดำรงชีวิตเป็นปกติสุข

การคอยสังเกตสัญญาณอันตรายหรือความผิดปกติจะทำให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีและส่งผลกระทบกับผู้ป่วยน้อยลงได้

การรักษา ด้วยเทคนิค S.A.P System Support Structure.. Alignment.. Positioning.

การรักษา ต้องหาสาเหตุของอาการปวดหัวก่อน ถ้าปัญหามาจากกระดูกต้นคอเคลื่อน กล้ามเนื้อคอยึดตึง ทำให้การไหลเวียนเลือดขึ้นสมองช้า ทำให้เกิดอาการมึนหัว ปวดเบ้าตา ปวดขมับ ปวดหัว ปวดหัวข้างเดียว ปวดขมับ หัวตื้อคดอะไรไม่ออก รักษาได้ด้วยการปรับโครงสร้างของกระดูกสันหลัง บริเวณต้นคอ และหลังส่วนล่าง และหลังส่วนล่าง ที่เคลื่อนออกจากตำแหน่ง ปรับเล็กน้อยให้กลับเข้าในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้การรักษาที่ตรงต้นเหตุ สามารถทำให้อาการปวดศรีษะทะเลา และหายไปได้ ด้วย