โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง เคลื่อนกดทับเส้นประสาท


หมอนรองกระดูกมีส่วนช่วยในการขยับของกระดูกสันหลัง โดยทำหน้าที่เหมือนโช้คอัพของรถยนต์ เปลือกนอกของหมอนรองกระดูกมีลักษณะเป็นเส้นเอ็นหนา ภายในบรรจุเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเหนียวนุ่มเหมือนเจลลีเพื่อช่วยในการรองรับแรงกระแทก เมื่อมีน้ำหนักกดทับ หมอนจะป่องออก และเมื่อน้ำหนักกดทับหายไป หมอนก็จะคืนตัวเหมือนเดิม

เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อมจะทำให้ความยืดหยุ่นลดน้อยลงเรื่อยๆ หากเปลือกนอกมีการฉีกขาด เนื้อเยื่อของหมอนที่อยู่ข้างในก็จะสามารถเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทที่อยู่รอบข้าง และทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมาได้

อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับมีได้ 3 รูปแบบ คือ อาการปวด อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรืออาการชา

  • อาการปวด อาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับนั้นจะแสดงออกที่ขา และจะมีลักษณะร้าวไปตามทางเดินของเส้นประสาทเส้นนั้น ขึ้นกับว่าเส้นประสาทที่โดนกดทับเป็นเส้นใดก็จะมีการปวดเป็นลักษณะเฉพาะของเส้นประสาทเส้นนั้น
  • อาการอ่อนแรง เส้นประสาทจากกระดูกสันหลังทำหน้าที่ในการควบคุมการขยับของกล้ามเนื้อ การกดทับของเส้นประสาทส่งผลให้กระแสไฟฟ้าถูกรบกวน ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขึ้นได้
  • อาการเหน็บชา เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับจะทำให้ความสามารถในการรับความรู้สึกเสียไป ทำให้ผิวหนังบริเวณที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นนั้นรับความรู้สึกได้ไม่ดีเท่าเดิม

สิ่งที่คนทั่วไปเข้าใจคือโรคกระดูกสันหลังจะต้องมีอาการปวดหลัง แต่แท้จริงแล้วอาการที่สำคัญกว่าคืออาการที่ขาหรือแขน ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการรบกวนของเส้นประสาทเกิดขึ้นแล้ว

อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทมีส่วนคล้ายกับโรคโพรงประสาทตีบแคบอยู่มากเนื่องจากเป็นอาการของเส้นประสาทที่โดนกดทับเหมือนกัน ส่วนที่ต่างกันคือ โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนมักจะมีอาการปวดเฉียบพลันและรุนแรงกว่า เนื่องจากมีการอักเสบรุนแรงเกิดขึ้นรอบเส้นประสาท ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงมากจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองหรือทำกิจวัตรประจำวันได้เลย

ทางเลือกในการรักษา

อาการปวดที่รุนแรงไม่ได้บ่งชี้ว่าต้องผ่าตัดเสมอไป โดยส่วนใหญ่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ศัลยแพทย์จะตรวจการทำงานของเส้นประสาทอย่างละเอียดเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วย

การรักษามักเริ่มต้นจากการรับประทานยาและการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง หากอาการต่างๆ ยังไม่ทุเลา จึงค่อยทำการรักษาขั้นถัดไปคือ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท ซึ่งตัวยาจะเข้าไปลดการอักเสบโดยตรงที่ต้นเหตุของปัญหา ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วขึ้น

หากการรักษาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด ได้แก่ มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เจ็บปวดเรื้อรังเกิน 3 เดือน หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระได้ แพทย์จึงจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อคลายการกดทับของเส้นประสาทเป็นขั้นตอนการรักษาขั้นสุดท้าย

ถ้าอาการปวดหลังสืบเนื่องมาจาก กระดูกสันหลังเคลื่อน ในรูปแบบต่างๆ หรือมีปัญหาจากหมอนรองกระดูก หรือช่องไขสันหลังตึบ หรือกระดูกสันหลังคด

การจัดกระดูกปรับโครงสร้างข้อต่อ บริเวณกระดูกสันหลัง ด้วยการรักษาด้วยเทคนิค S.A.P System Support Structure.. Alignment.. Positioning. เป็นแนวทางการรักษา ปรับจัดเรียงโครงสร้างกระดูกสันหลังด้วยมือ โดยใช้เทคนิค ( S.A.P System ) และเทคนิคพิเศษอื่นๆอีก หลายๆเทคนิคร่วมด้วย รวมทั้งการกายภาพบำบัดและเครื่องมือพิเศษต่างๆ

เพื่อลดแรงกด ( join pressure ) สามารถลดอาการ และความรุนแรงได้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาใช้มือ และใช้อุปกรณ์เครื่องมือรวมกันโดยไม่ต้องใช้ยา ไม่เจ็บ และไม่ต้องผ่าตัด